อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กม. บนเส้นทางสาย 3032 มีพื้นที่ประมาณ 115 ไร่ เป็นสวนรุกขชาติ ที่พักผ่อนหย่อนใจ และมีอนุสาวรีย์วีรชนบางระจันซึ่งสร้างโดยกรมศิลปากร ปรากฏสวยเด่นเป็น สง่าอยู่ในสวนนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเปิดอนุสาวรีย์นี้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2519 ค่ายบางระจันมีความสำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์ ผืนแผ่นดินแห่งนี้ได้บันทึก เหตุการณ์ความกล้าหาญและเสียสละของวีรชนไทยที่เกิดขึ้นราว พ.ศ. 2308 ในครั้งนั้นชาวบ้านบางระจันได้รวมพลังกันต่อสู้กับกองทัพพม่าซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล โดยพม่าต้องยกทัพเข้าตีหมู่บ้านนี้ถึง 8 ครั้ง ใช้เวลาถึง 5 เดือน จึงเอาชนะได้ ค่ายบางระจัน ในปัจจุบันนี้ ได้สร้างจำลองโดยอาศัยรูปแบบค่ายในสมัยโบราณ บนเนินสูงหน้าค่ายนั้น มีรูปหล่อของวีรชนค่ายบางระจันที่เป็นหัวหน้าทั้ง 11 คน นับเป็นอนุสาวรีย์ยิ่งสำคัญของชาติแห่งหนึ่ง วัดโพธิเก้าต้น
ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 15 กม.ณ ที่แห่งนี้วีรชนชาวไทยได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านข้าศึกที่มารุกราน ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า"วัดไม้แดง" เพราะภายในบริเวณมีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย ในบริเวณวัดมี "วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ" ซึ่งเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ๆ กันก็มี "สระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ" มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์จึงไม่จับไปรับประทาน ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ยังคงปรากฏต้นไม้แดงที่ยืนต้นมากกว่า |
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น